Welcome

ยินดีต้อนรับสู่บล็อก..ลูกเสือ นามนพิทยาคม โดย ครูเทวัญ ภูพานทอง

Asia-Pacific


Mission & Vision of the APR
ภารกิจและวิสัยทัศน์ของสำนักงานลูกเสือภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
         ภารกิจของการลูกเสือคือการให้การศึกษาแก่เยาวชนผ่านกระบวนการ ทางหลักศีลธรรมจากกฎและคำปฎิญาณของลูกเสือ เพื่อช่วยสร้างโลกที่ดี ที่ซึ่งมีบุคคคมีหน้าที่แก่สังคม โดยการ
         - ให้เยาวชนได้รับการศึกษา
         - ใช้กระบวนการที่ทำให้เยาวชนเป็นคนที่พึ่งตนเองได้ สนับสนุนสังคม และมีความรับผิดชอบ
         - ให้การช่วยเหลือ เสริมสร้างหลักศีลธรรม ตามกฎและคำปฎิญาณของลูกเสือ
วิสัยทัศน์ สำนักงานลูกเสือภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกต่อการลูกเสือในปี 2556
         - เป็นการศึกษาที่มีคุณค่า และน่าเชื่อถือ
         - เป็นการร่วมมือทางด้านศึกษา
         - ให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
         - สำนักงานลูกเสือสามารถพึ่งตนเองได้ อิสระ และมีการจัดการที่ดี
         - มีจำนวนสมาชิกลูกเสือมากขึ้น
         - ขยายไปสู่ประเทศที่ยังไม่เป็นสมาชิก
         - มีความเชื่อถือ และใสสะอาด
         - มีการใช้ข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น
         - มีส่วนสนับสนุนสังคมและประเทศชาติ
         - มีความแน่นแฟ้นในกิจการลูกเสือ
         - อนุรักษ์ธรรมชาติ
         - ส่งเสริมเสรีภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญต่อเยาวชนในการเปลี่ยนแปลง
Email: asia-pacific@scout.org Website:http://www.scout.org/asia-pacific Postal Address
World Scout Bureau/Asia-Pacific Region
P.O. Box 4050, MCPO 1280
Makati City, Philippines
Street Address
4th floor ODC International Plaza Building 219 Salcedo Street,
Legaspi Village, Makati City 1229, Philippines
Tel No: +63 2 818 0984 / 899 27 12
+63 2 760 07 19/ 760 07 20
Fax No: +63 2 819 0093

ที่มา : http://www.scoutthailand.org

bronzewolf

bronzewolf


BRONZE WOLF AWARD : เหรียญสดุดีลูกเสือโลก
         รางวัล Bronze Wolf ซึ่งเป็นรางวัลเดียวที่มอบโดยคณะกรรมการลูกเสือโลก ให้กับบุคคลที่กระทำประโยชน์ และคุณงามความดีอย่างดีเยี่ยมให้กับ
การลูก เสือในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนากิจการลูกเสือ ลอร์ด เบเดน โพเวลส์ ริเริ่มการมอบรางวัล Silver Wolf ให้กับบุคคลซึ่งกระทะคุณงามความดีแก่
การลูกเสือ แต่รางวัล Silver Wolfเป็นรางวัลที่มอบจากการสมาคมลูกเสืออังกฤษเท่านั้น
         ในปี พ.ศ. 2467 คณะกรรมการลูกเสือโลก ได้ตัดสินใจว่าคณะกรรมการลุกเสือโลกจะต้องมีรางวัลที่ออกในนามของตัวเอง จึงขออนุญาตจาก ลอร์ด
เบเดน โพเวลส์ ผู้ซึ่งต้องการที่จะกำหนดจำนวนของการมอบรางวัล และการเสนอของคณะกรรมการลูกเสือโลกก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
         การสนทนาเรื่องรางวัลมีการเริ่มขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2475 และก็ได้ ข้อสรุป ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 คณะกรรมการลูกเสือโลกได้อนุมัติ
การมอบ รางวัล Bronze Wolf อย่างเป็นทางการวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ที่กรุง StockHolm ประเทศสวีเดน และได้ประทานรางวัล Bronz Wolf จาก
การเสนอของ นายเวอเทอต์ เฮดด์ ครั้งแรกให้แก่ ลอร์ด เบเดน โพเวลส์
         ในการที่จะทำให้การมอบรางวัลสมเกียรติ คณะกรรมการลูกเสือโลกได้จำกัดจำนวนการมอบรางวัลให้แก่บุคคล 2 คน ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ถึง
กระนั้นการมอบรางวัลก็ยิ่งมีน้อยกว่าคือมีการมอบรางวัล แค่ 12 ครั้ง จากปี พ.ศ. 2474 ถึงปี 2498
         เนื่องจากการลูกเสือเจริญมากขึ้น การมอบรางวัลก็มีมากขึ้นด้วย ระหว่างปี 2498 ถึง 2545 มีการมอบรางวัลมากถึง 308 ครั้ง ทางคณะกรรมการ
ลูกเสือโลกได้กำหนดว่าการมอบรางวัล 1 ครั้ง ต่อจำนวนสมาชิกทั่วโลก 2,000,000 คน
ลูกเสือไทยที่ได้รับ Bronze Wolf Award
พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ. 2514 นายอภัย จันทวิมล
พ.ศ. 2519 นายจิตร ทังสุบุตร
พ.ศ. 2525 นายกอง วิสุทธารมณ์
พ.ศ. 2531 นายเพทาย อมาตยกุล
พ.ศ. 2533 นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
พ.ศ. 2539 นางสุมน สมสาร
พ.ศ. 2540 นายสุธรรม พันธุศักดิ์
พ.ศ. 2551 นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์

ที่มา : http://www.scoutthailand.org

การลูกเสือโลก

การลูกเสือโลก


องค์การลูกเสือโลก        ปัจจุบัน  การลูกเสือได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งมีสมาชิกกว่า 30 ล้านคน ใน 161 ประเทศ และเขตปกครอง อาณานิคมแคว้นต่างๆ ทั่วโลก  มีองค์การลูกเสือโลก (World Organization of the Scout Movement)  โดยสำนักงานลูกเสือโลก (World Scout Bureau) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขาธิการฯ  ผู้ดูแลการดำเนินงานของประเทศสมาชิกให้พัฒนาไปตามกรอบนโยบายและแนวทางของ องค์การลูกเสือโลก  และตามมติของที่ประชุมสมัชชาลูกเสือโลก (World Scout Conference) ซึ่งจัดให้มีขึ้นในทุก ๆ 4 ปี 
นอกจากสำนักงานลูกเสือโลก (World Scout Bureau) กรุงเจนีวา แล้วยังมีสำนักงานลูกเสือภาคพื้นอยู่ในภูมิภาคทั่วโลก อีก 6 แห่ง ได้แก่
  1. ภาคพื้นยุโรป (Europe)   - มีประเทศสมาชิก 41  ประเทศ
        สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และกรุงบร้สเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
  2. ภาคพื้น ยูเรเชีย (Eurasia)  - มีประเทศสมาชิก  9 ประเทศ
        สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐยูเครน  และสำนักงานสาขา ที่กรุงมอสโคว์  ประเทศรัสเซีย
  3. ภาคพื้นอินเตอร์อเมริกา (Interamerica)  -  มีประเทศสมาชิก  32    ประเทศ
        สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงซานติเอโก ประเทศชิลี
  4.  ภาคพื้นอาหรับ (Arab)  -  มีประเทศสมาชิก  18  ประเทศ
        สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
  5.  ภาคพื้นอาฟริกา (Africa) -  มีประเทศสมาชิก 37  ประเทศ
        สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงไนโรบี  ประเทศเคนยา
          - สำนักงานสาขา 1.  ตั้งอยู่ที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล
          - สำนักงานสาขา 2.  ตั้งอยู่ที่ กรุงเคปทาวน์  ประเทศอาฟริกาใต้
  6. ภาคพื้น เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific) -  มีประเทศสมาชิก 24 ประเทศ
        สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมนิลา  ประเทศฟิลิปปินส์
วัตถุประสงค์ หลักการสำคัญ และวิธีการของลูกเสือ
          การลูกเสือ เป็นขบวนการทางการศึกษาสำหรับเยาวชน ที่มีวัตถุประสงค์จะสร้างบุคลิกภาพ และพัฒนาการทางสังคมให้กับเยาวชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ โดยใช้วิธีการของลูกเสือ ยึดมั่นในกฎและคำปฏิญาณ (Scout Promise and Laws)  การเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by Doing) เน้นการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง  (Outdoor Activities)  การใช้ระบบหมู่  (Patrol System)  และความก้าวหน้าของบุคคล โดยใช้หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ (Proficiency Badges)           การลูกเสือ เป็นการอาสาสมัครทำงานให้การศึกษาพัฒนาเยาวชนโดยทั่วไป ไม่มีการแบ่งแยกกีดกันในเรื่องเชื้อชาติ ผิวพรรณ วรรณะ ลัทธิทางศาสนาใดๆ และไม่อยู่ภายใต้อิทธิพล หรือเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยยึดปฏิบัติตามอุดมการณ์ของผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกอย่างมั่นคง  วงการศึกษาทั่วโลกถือว่าการลูกเสือ เป็นขบวนการที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนนอกระบบโรงเรียน  (Non-formal Education Movement) ภายใต้พื้นฐาน ดังนี้
             1. มีหน้าที่ต่อศาสนาที่ตนเคารพนับถือ
             2. มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง
             3. มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง
             4. เข้าร่วมในการพัฒนาสังคมด้วยการยกย่องและเคารพในเกียรติของบุคคลอื่น
             5. ช่วยเสริมสร้างสันติภาพความเข้าใจอันดี เพื่อความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วโลก
พันธกิจหลัก        ปัจจุบัน พันธกิจหลักของการลูกเสือในการฝึกอบรมเยาวชนผ่านกระบวนการลูกเสือ มี  3  ประการ คือ
            1.ให้เด็กได้เป็นลูกเสือแต่เยาว์วัย - โดยจัดในรูปกิจกรรมอาสาสมัคร หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร
            2.ใช้วิธีการฝึกลูกเสือในการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์  4 ประการ คือ
                      2.1) เป็นผู้ที่เชื่อถือได้
                      2.2) สามารถพึ่งตนเองได้
                      2.3) มีความรับผิดชอบ
                      2.4) กล้าสู้งานหนัก
            3.ต้องพัฒนาระบบการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพ ในการขัดเกลาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนโดยใช้กฎลูกเสือเป็นหลัก
จากพันธกิจหลัก (Mission) ทั้ง 3 ประการนี้ นำไปสู่ยุทธศาสตร์หลัก (Strategy) ที่ใช้ในการพัฒนาการลูกเสือให้ตอบสนองสอดคล้องกับพันธกิจ
ยุทธศาสตร์       1. ให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตัดสินใจ
       2. ให้ผู้ใหญ่เข้ามาให้การสนับสนุนกิจกรรมลูกเสือ
       3. ฝึกอบรมลูกเสือชาย-หญิงอย่างเสมอภาค  ให้เกิดความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
       4. ให้ทุ่มเทงานหนัก 
       5. ใช้ระบบอาสาสมัคร
       6. องค์กรลูกเสือต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์                            
       7. ปรับระบบลูกเสือให้เข้มแข็ง
       8. ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การทำงานทันสมัย ทันคน ทันเหตุการณ์
       9. ส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อรายงานความก้าวหน้าให้สังคมรับรู้
      10. สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันในองค์กรลูกเสือ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
      11. สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับองค์กรเอกชนและองค์กรเยาวชนอื่น ๆ
      12. สนับสนุนให้มีประเทศสมาชิกใหม่ เข้าร่วมองค์การลูกเสือโลก และส่งเสริมการเพิ่มจำนวนสมาชิกลูกเสือในประเทศ
      13. จัดตั้งกองทุนเพื่อหาเงินสนับสนุนกิจการลูกเสืออย่างเป็นระบบและมั่นคง

ที่มา : http://www.scoutthailand.org

กำเนิดลูกเสือโลก

กำเนิดลูกเสือโลก

Load Baden Powell (ลอร์ด เบเดน เพาเวลด์)
        การลูกเสือเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกในโลก เมื่อ พ.ศ.2451  โดยพลโท ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (Lord Baden Powell) หรือ B-P มูลเหตุจูงใจที่ตั้งกองลูกเสือขึ้นมาก็คือ ท่านไปรับราชการทหารโดยไปรักษาเมืองมาฟฟิคิง (Mafiking) อันเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในสหภาพแอฟริกาใต้ ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นกับพวกบัวร์ (Boer)
        ในการผจญศึกใหญ่คราวนั้น ท่านได้ฝึกเด็กขึ้นหน่วยหนึ่่ง เพื่อช่วยราชการสงคราม เช่น เป็นผู้สื่อข่าว สอดแนม รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน รับใช้ในการงานต่างๆ เช่น ทำครัวเป็นต้น ปรากฎว่าได้ผลดีมาก เพราะเด็กที่ได้รับการฝึกเหล่านั้นสามารถปฎิบัติหน้าที่ที่ใช้รับมอบหมายได้ อย่างเข้มแข็งว่องไว ได้ผลดีไม่แพ้ผู้ใหญ่และบางอย่างกลับทำได้ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก
        เมื่อท่านกลับจากราชการสงครามเมืองมาฟฟิคิงแล้ว ท่านได้ร่างโครงการอบรมเด็กขึ้น มีหลักการคล้ายลูกเสือในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ท่านได้ทดลองตั้ง Boy Scout ขึ้นเป็นกองแรกที่ เกาะบราวน์ซี ไอแลนด์ (Brown Sea Island )โดยเกลี้ยกล่อมเด็กที่เที่ยวเตร่อยู่ในที่ต่างๆ มาอบรมแล้วท่านได้คอยคุมการฝึกตามโครงการด้วยตนเอง และได้ผลดีสมความมุ่งหมายทุกประการจึงทำให้เกิดความบันดาลใจ ในอันที่จะขยายกิจการให้กว้างขวางออกไปในวันข้างหน้า
        พอถึงปี พ.ศ. 2455 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศรับรองฐานะของลูกเสืออังกฤษเป็นทางการพร้อมกับออก กฎหมายคุ้มครองให้ด้วย จากนั้นการลูกเสืออังกฤษก็เจริญแพร่หายออกไปเป็นลำดับมา
คติพจน์ที่ท่านลอร์ดบาเดนเพาเวลล์ได้ให้ไว้แก่ลูกเสือก็คือ BE PREPARED (จงเตรียมพร้อม)

                        
                           
         •  หนังสือ Scouting for boys พิมพ์ออกจำหน่ายทั้งหมด 6 เล่มและประเทศต่างๆที่มีกิจการ Scout ก็มักเคยพิมพ์ออกเผยแพร่สำหรับผู้ที่สนใจรวมทั้งประเทศไทยด้วย
         •  ต่อมา พลโท โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น บารอน ซึ่งบรรดาศักดิ์นี้พระราชทานโดยพระเจ้ายอร์จ ที่ 5 ในปี พ.ศ. 2472 ทำให้เขาเป็นสมาชิกสภาขุนนาง ซึ่งตามประเพณีของอังกฤษผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ตั้งแต่บารอนขึ้นไป จะต้องมีชื่อสถานที่ต่อท้าย ซึ่งเขาเลือกเอา กิลเวลล์ (Gil Well Park) ที่เป็นชื่อของศนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ ทำให้เขาได้ชื่อตามบรรดาศกดิ์ว่า บารอน เบเดน โพเอลล์ แห่ง กิลเวลล์ แต่คนทั่วไปมักนิยมเรียก ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ในการชุมนุม Scout ครั้งแรกของโลกในปี พ.ศ. 2463 ที่ประชุมผู้แทน Scout จากประเทศต่างๆ ก็ประกาศให้เขาเป็นประมุขของ Scout ตลอดกาล และทุกคนเรียกท่านอย่างย่อๆว่า B-P
                                              
ที่มา : http://www.scoutthailand.org